Picture of the author
autobacsautobacs
autobacs

แนะนำวิธีเลือกน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์


วันที่เผยแพร่: 15 พ.ค. 2568

แชร์ไปยัง

น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ดีไหม? แนะนำวิธีเลือกให้เหมาะกับรถคุณ

Key Takeaway

  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ คือ น้ำมันเครื่องที่ผสมผสานระหว่างน้ำมันแร่และน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ ทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดี ช่วยบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ในราคาที่ไม่แพงมาก

  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ต่างจากน้ำมันเครื่องประเภทอื่นคือ ราคาที่ถูกและคุ้มค่ากว่า ช่วยให้มีอายุการใช้งานที่มากกว่าน้ำมันเครื่องปกติ โดยจะมีระบบถ่ายน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 5,000 - 10,000 กิโลเมตร

  • จุดเด่นของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ คือ ช่วยบำรุงรักษาเครื่องยนต์ เพิ่มความหล่อลื่นลดแรงเสียดทาน ประหยัดน้ำมัน และเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ แต่ข้อเสียคือ ประสิทธิภาพการทำงานไม่ดีเท่าน้ำมันสังเคราะห์ และเสื่อมสภาพเร็วกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์

  • ความถี่ในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง สามารถเปลี่ยนได้สองแบบคือ เปลี่ยนตามระยะทางการขับขี่ และเปลี่ยนตามระยะเวลา โดยน้ำมันแต่ละประเภทจะมีกำหนดเวลาการเปลี่ยนที่ต่างกันไป 



หากให้พูดถึงสิ่งสำคัญของการขับรถ เพื่อให้รถยนต์สามารถใช้ได้อย่างยาวนานมีประสิทธิภาพหนึ่งในนั้นคือ น้ำมันเครื่องที่จะทำหน้าที่บำรุงรักษาเครื่องยนต์ และทำให้การขับขี่เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งได้มีน้ำมันเครื่องหลายประเภท โดยน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ คือหนึ่งในประเภทของน้ำมันเครื่องที่หลายคนเลือกใช้ เนื่องด้วยราคาที่ถูก และมีประสิทธิภาพดี

แล้วน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ดีอย่างไร แล้วการเลือกน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับรถยนต์ต้องดูอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ที่บทความนี้ ไปดูกันเลย

ทำความรู้จักกับน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์

น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ คือน้ำมันที่มีการใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์จากน้ำมันธรรมชาติ (น้ำมันแร่) ผสมผสานกับสารสังเคราะห์ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับน้ำมันสังเคราะห์ทั่วไป มีราคาประหยัดกว่า 

ทำไมต้อง “กึ่งสังเคราะห์”

เนื่องจากน้ำมันสังเคราะห์มีราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้คนเริ่มนิยมที่จะผสมผสานเกรดน้ำมันเพื่อใช้งาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและเป็นการเปลี่ยนน้ำมันที่มีความหนืดต่ำมาใช้ขับขี่ ดังนั้นคนใช้รถจำนวนมากจึงหันมาใช้งาน น้ำมันกึ่งสังเคราะห์ ที่มีราคาถูก และมีความหนืดต่ำกว่าน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ รวมทั้งยังมีคุณสมบัติสามารถใช้งานทั่วไปกับรถได้ทุกประเภทอีกด้วย

ความแตกต่างระหว่างน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์และน้ำมันเครื่องประเภทอื่น

นอกจากน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์แล้ว ประเภทของน้ำมันเครื่องที่ใช้ในปัจจุบันนั้น หลักๆ จะมีทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ 

น้ำมันเครื่องธรรมดา

น้ำมันเครื่องธรรมดา คือน้ำมันที่ได้รับการสกัดจากน้ำมันดิบ มีราคาที่ค่อนข้างถูก เหมาะสำหรับการใช้งานกับรถยนต์ทั่วไป แต่จุดด้อยคือจะมีอายุการใช้งานสั้น เสื่อมสภาพเร็ว ระยะการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องอยู่ที่ 5,000 - 7,000 กิโลเมตร หรือหากเป็นระยะสั้นจะอยู่ที่ 3,000 - 5,000 กิโลเมตร

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ คือ น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100% ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยป้องกันการสึกหรอได้ดี และสามารถทนทานต่อความร้อนได้ดี เหมาะกับการใช้งานกับรถยนต์ที่มีสมรรถนะการใช้งานที่สูง หรือรถยนต์ที่มีการใช้งานหนัก ซึ่งระยะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอยู่ที่ 10,000 - 20,000 กิโลเมตร 

น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์

น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ คือ น้ำมันที่ผสมผสานระหว่าง น้ำมันเครื่องธรรมชาติและน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ ปริมาณอย่างน้อย 10% ขึ้นไป ทำให้มีประสิทธิภาพการหล่อลื่นที่ดีกว่า และยังมีราคาที่ถูกและคุ้มค่ากว่า ช่วยให้มีอายุการใช้งานที่มากกว่าน้ำมันเครื่องปกติ โดยจะมีระบบถ่ายน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 5,000 - 10,000 กิโลเมตร

ข้อดีของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์

อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ว่าข้อดีสำหรับการใช้น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ คือราคาที่ถูกและคุ้มค่า นอกจากนี้น้ำมันประเภทนี้ยังมีข้อดีและจุดเด่นต่างๆ สำหรับเครื่องยนต์ ดังนี้ 

  • ปกป้องเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความที่น้ำมันกึ่งสงเคราะห์นั้นมันการผสมผสานระหว่างน้ำมันแร่และน้ำมันสงเคราะห์ ทำให้มีคุณสมบัติในการช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ รวมทั้งยังสามารถทนทานต่อความร้อนได้ดีกว่าน้ำมันแร่ 

  • เพิ่มความหล่อลื่นลดแรงเสียดทาน การใช้น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ คือจะช่วยลดแรงเสียดทาน ทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบขึ้น ลดการสึกหรอและยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้ยาวนาน

  • ยืดอายุการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง การใช้น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สูงสุดถึง 10,000 กิโลเมตร ทำให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยๆ 

  • ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง โดยน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ จะช่วยลดแรงเสียดทานเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ไม่ต้องทำงานหนัก ส่งผลให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามไปด้วย 

  • เพิ่มสมรรถนะการขับขี่ เพราะน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานของเครื่องยนต์ ป้องกันการเสื่อมสภาพของน้ำมัน ทำให้การขับขี่มีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น

ข้อเสียของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์

นอกจากข้อดีแล้ว การใช้น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เองก็มีข้อจำกัดต่างๆ ดังนี้ 

  • คุณภาพไม่ดีเท่าน้ำมันสังเคราะห์แท้ ด้วยความที่เป็นน้ำมันที่ผสมกับน้ำมันแร่ ทำให้การทำงานจองน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ไม่สามารถทำได้เต็มที่เท่า น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% เช่น การปกป้องเครื่องยนต์ในสภาวะที่ทำงานหนัก และอายุการใช้งานที่สั้นกว่า เป็นต้น

  • เสื่อมสภาพได้หากเผชิญสภาพแวดล้อมรุนแรง เข่น หากเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อนหรือเย็นจัด อาจทำให้น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น 

  • เสื่อมสภาพเร็วกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ โดยน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ จะมีอายุการใช้งานสูงสุดที่ประมาณ 10,000 กิโลเมตร ต่างจากน้ำมันสังเคราะห์ 100% ที่มีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 10,000 กิโลเมตรขึ้นไป 

วิธีการเลือกน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับรถยนต์

การเลือกน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับรถยนต์นั้น อย่าลืมพิจารณาปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ได้น้ำมันเครื่องที่สามารถใช้งานได้นานๆ และช่วยถนอมเครื่องยนต์ไปในตัว โดยวิธีการเลือกน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับรถยนต์ มีดังนี้ 

เลือกตามประเภทของรถยนต์และมาตรฐาน API

สำหรับมาตรฐาน API นั้นย่อมาจาก American Petroleum Institute ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานสำหรับแบ่งเกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องยนต์ ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น การระบายความร้อน การหล่อลื่น เป็นต้น โดยวิธีการเลือกน้ำมันตามประเภทของรถยนต์และมาตรฐาน API จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

  • เครื่องยนต์เบนซินและแก๊ส ควรเลือกน้ำมันที่มีมาตรฐาน API โดยจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร “S” ทั้งนี้จะมีการเรียงตั้งแต่ SA ถึง SP ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานสูงสุด เช่น API SA หรือ API SB เป็นต้น ซึ่งเหมาะสมกับเครื่องยนต์เบนซินแบบฉีดตรง ทั้งติดเทอร์โบและไม่ติดเทอร์โบ

  • เครื่องยนต์ดีเซล ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีมาตรฐาน API ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร “C” ซึ่งจะเรียงเป็น CA ไปจนถึง CK-4 ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น API CA หรือ API CJ-4 เป็นต้น 

หมายเหตุ การเลือกน้ำมันเครื่องตามมาตรฐาน API ควรเลือกจากคู่มือรถยนต์เป็นหลัก โดยน้ำมันที่มีมาตรฐาน API สูงกว่า สามารถใช้งานแทนที่น้ำมันที่มาตรฐาน API ต่ำกว่าได้

เลือกตามเบอร์ความหนืด (SAE)

การเลือกน้ำมันเครื่องตามเบอร์ความหนืด (SAE) เพื่อใช้งานในประเทศไทยที่มีอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่ จึงได้มีการแบ่งระดับความหนืดเป็น “ความหนืด เลขตัวหลัง” ที่ระบุบนน้ำมันเครื่องเป็นหลัก เช่น เบอร์ 30 หรือเบอร์ 50 เป็นต้น ยิ่งตัวเลขมากขึ้น ความหนืดก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตาม ซึ่งสามารถแบ่งระดับความหนืดได้ดังนี้ 

  • น้ำมันเครื่องเบอร์ 20 และ 30 เหมาะกับรถยนต์ขนาดเล็ก รถใหม่ป้ายแดง หรือรถที่เน้นใช้งานภายในเมือง มีจุดเด่นในการช่วยประหยัดเชื้อเพลิง 

  • น้ำมันเครื่องเบอร์ 40 เหมาะกับการใช้กับรถที่ผ่านการใช้งานมาแล้วมากกว่า 10,000 กิโลเมตร สามารถใช้งานกับรถทั่วไป และมีคุณสมบัติการช่วยปกป้องเครื่องยนต์ในช่วงที่ใช้งานรถหนัก

  • น้ำมันเครื่องเบอร์ 50  เหมาะแก่การใช้งานกับรถที่มีอายุมาก ที่มีการกินน้ำมันเครื่องเยอะ เนื่องจากต้องเป็นการน้ำมันที่มีคุณสมบัติในการปกป้องชิ้นส่วนเครื่องยนต์ 

หมายเหตุ ในระหว่างที่ใช้งานหากพบว่าเกิดปัญหาน้ำมันเครื่องหาย ควรปรับเบอร์ความหนืดน้ำมันหรือใช้น้ำมันเครื่องที่มีสารปรับสภาพซีลยาง เพื่อการปกป้องเครื่องยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการกินน้ำมันเครื่องโดยไม่จำเป็น 

เลือกตามประเภทของน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องแต่ละประเภท จะมีอายุการใช้งานที่ต่างกันออกไป โดยสามารถแบ่งอายุการใช้งานออกเป็น ดังนี้ 

  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ มีอายุการใช้งานอยู่ที่ 10,000 - 20,000 กิโลเมตร หรือระยะเวลา 1 ปี

  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ คือมีอายุการใช้งาน 8,000 - 10,000 กิโลเมตร หรือไม่เกิน 6 - 9 เดือน

  • น้ำมันเครื่องทั่วไป มีอายุการใช้งานอยู่ที่ 5,000 - 8,000 กิโลเมตร หรือไม่เกิน 6 เดือน

หมายเหตุ สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานน้ำมันเครื่องในระยะยาว ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีการสังเคราะห์แท้ หรือใช้น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ กับรถที่ใช้งานหนัก 

เลือกตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงทางเลือก

อีกหนึ่งวิธีการเลือกน้ำมันเครื่อง ให้เหมาะกับเครื่องยนต์คือการเลือกตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงทางเลือก โดยจะแบ่งออกเป็น ดังนี้

  • น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมเอทานอล ได้แก่ E20 และ E85 ซึ่งจะต้องใช้น้ำมันที่ได้มาตรฐานสูง โดยจะต้องเป็น API SN ขึ้นไป เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันเกิดการเสื่อมสภาพเร็วเกินไป 

  • น้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล ได้แก่ B10 และ B20 จะต้องใช้น้ำมันที่มีมาตรฐานสูง เช่น API CI-4 ขึ้นไป เนื่องจากน้ำมันไบโอดีเซลอาจเข้าไปอุดตันไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง จนทำให้เกิดคราบน้ำมันเหนียวในเครื่องยนต์ ดังนั้นการใช้น้ำมันที่มีมาตรฐานดังกล่าว จะช่วยล้างสิ่งสกปรกที่เกิดในเครื่องยนต์ได้

ความถี่ในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกันคือ การเปลี่ยนตามระยะทางและการเปลี่ยนตามระยะเวลา 

  • การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องรถยนต์ตามระยะทาง แต่ละประเภทของน้ำมันจะกำหนดระยะทางที่ต่างกันไป ดังนี้

  • น้ำมันเครื่องทั่วไป (ปิโตรเลียม) ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะทาง 5,000 - 8,000 กิโลเมตร

  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะทาง 8,000 - 10,000 กิโลเมตร

  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะทาง 10,000 - 20,000 กิโลเมตร 

  • การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องรถยนต์ตามระยะเวลา โดยน้ำมันแต่ละประเภทควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะเวลา ดังนี้

  • น้ำมันเครื่องทั่วไป (ปิโตรเลียม) ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะเวลา 6 เดือน

  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะเวลาระหว่าง 6 - 9 เดือน

  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะเวลา 1 ปี 

สรุป

น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ คืออีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ต้องการดูแลเครื่องยนต์ในราคาที่ไม่แพงเกินไป ด้วยคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ที่ผสมผสานระหว่างน้ำมันแร่และน้ำมันสังเคราะห์ ที่ทำให้น้ำมันเครื่องชนิดนี้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพไม่แพ้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ ทั้งนี้การเลือกน้ำมันให้เหมาะสมต่อรถยนต์นั้น ควรดูตามประเภทของรถ และการใช้งาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อถึงเวลาที่กำหนดเพื่อเป็นการบำรุงดูแลเครื่องยนต์ 

ส่วนใครที่ไม่รู้จะเลือกน้ำมันเครื่องที่ไหนดี ขอแนะนำเลือกน้ำมันเครื่องกับศูนย์บริการรถยนต์ Autobacs ที่มีน้ำมันเครื่องให้เลือกแบบ ครบ จบ เพียงกรอกข้อมูลที่คุณต้องการเท่านั้น 

autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autobacsสาระน่ารู้อื่นๆ

E-mail

Call Center

autobacs-contact

LINE Official

autobacs-line

Messenger

autobacs-messenger
to-top