Picture of the author
autobacsautobacs
autobacs

วิธีเลือกโช๊ครถยนต์ เปลี่ยนอย่างไรให้เหมาะสม


วันที่เผยแพร่: 14 พ.ค. 2568

แชร์ไปยัง

Key Takeaway

  • โช้กรถยนต์ เป็นอีกชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ เพราะจะเป็นส่วนที่ช่วยรับแรงกระแทกจากการขับขี่ ทำให้เราสามารถขับรถได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

  • อายุการใช้งานของโช้กอัปรถยนต์ โดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ทุก 50,000 - 100,000 กิโลเมตร หรือหากนับระยะเวลาเป็นประมาณ 3 ปี

  • อาการผิดปกติของโช้กอัปรถยนต์ ได้แก่ ระหว่างขับขี่ได้ยินเสียงกึกกัก รู้สึกถึงอาการโคลงเคลงระหว่างขับขี่ และบริเวณโช้กอัปเกิดคราบน้ำมัน เป็นต้น

  • โช้กแบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดยแบ่งออกเป็นตามโครงสร้างกระบอกและตามรูปแบบการทำงาน ซึ่งควรเลือกโช้กอัปให้เหมาะกับรูปแบบการขับขี่ เพื่อการขับขี่อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ



โช้กอัปคือหนึ่งในอะไหล่สำคัญของการใช้รถยนต์ เพราะว่าเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ช่วยให้การขับขี่เป็นไปอย่างราบรื่น ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับขี่บนเส้นทางที่ไม่ราบเรียบ มีความขรุขระ แต่เมื่อใช้งานไปนานๆ หลายคนก็อาจเริ่มสงสัยว่า เปลี่ยนโช้กรถยนต์นั้นควรทำเมื่อไหร่ และเปลี่ยนโช้กอัปอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้รถของคุณ ในบทความนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบ 

โช้กรถยนต์มีความสำคัญอย่างไร เช็กหน้าที่และหลักการทำงานของโช้กรถยนต์ที่ควรรู้

หลายคนที่ใช้รถอาจคุ้นเคยกับชื่อของโช้กรถยนต์เป็นอย่างดี แต่ก่อนจะไปเข้าใจเกี่ยวกับเปลี่ยนโช้กรถยนต์รถยนต์ ต้องมาทำความเข้าใจถึงความสำคัญของโช๊คอัพรถยนต์ และเข้าใจว่าโช๊คอัพมีรูปแบบการทำงานอย่างไรบ้าง  

ความสำคัญของโช้กรถยนต์

โช้กอัปรถยนต์ เป็นอีกชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ เพราะจะเป็นส่วนที่ช่วยรับแรงกระแทกจากการขับขี่ ทำให้เราสามารถขับรถได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเลือกเปลี่ยนโช้กรถยนต์ที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อตัวรถที่เราขับ จึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากคุณเลือกใช้โช้กอัปผิดประเภท จะทำให้ประสิทธิภาพในการขับขี่ลดลง นอกจากนี้ผู้ใช้รถควรทำการเช็กสภาพโช้กอัปเมื่อใช้งานรถเป็นระยะทาง 20,000 กิโลเมตร

หน้าที่ของโช้กรถยนต์

หน้าที่ของโช้กอัปรถยนต์ คือจะทำหน้าที่รับแรงกระแทก รวมถึงการลดแรงสั่นสะเทือนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่ขับขี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวะที่ขับขี่บนเส้นทางที่มีความขรุขระ ไม่ราบเรียบ โช้กจะช่วยให้การขับขี่เป็นไปอย่างราบรื่น นุ่มนวล 

กลไกการทำงานของโช้กรถยนต์

ในส่วนกลไกการทำงานของโช้ก บริเวณด้านบนจะมีการเชื่อมต่อกับลูกสูบ โดยจะอยู่ภายในกระบอกโช้กและมีน้ำมันไฮดรอลิกอยู่ด้านใน ทันทีที่รถขับไปยังบริเวณที่มีพื้นที่ขรุขระ สปริงและแหนบรถยนต์จะเกิดการหดและขยายตัว และส่งต่อหน้าที่ไปที่โช้ก ทำให้ลูกสูบโช้กอัปเคลื่อนที่ขึ้นลง ส่วนการเคลื่อนไหวของลูกสูบภายในกระบอกโช้กที่บรรจุน้ำมันไฮดรอลิก จะช่วยทำการดูดซับพลังงานการขยายและหดตัวจากปริง มาหน่วงการกระแทกเพื่อให้การขับขี่เป็นไปอย่างลื่นไหล 

โช้กรถยนต์มีกี่แบบ เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์รถคุณ

สำหรับการเลือกเปลี่ยนโช้กรถยนต์ ให้ตอบโจทย์ต่อการขับขี่ จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดยแบ่งออกเป็นตามโครงสร้างกระบอกและตามรูปแบบการทำงาน ได้แก่

โช๊คอัพที่แบ่งตามโครงสร้างของกระบอก

การเปลี่ยนโช้กรถยนต์ตามประเภทโครงสร้างของกระบอก จะมีการแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ โช้กอัปกระบอกเดี่ยวและกระบอกคู่ ซึ่งมีการทำงานแตกต่างกัน ดังนี้ 

  • โช้กอัปกระบอกเดี่ยว จะมีรูปแบบกลไกการทำงานคือ น้ำมัน แก๊ส วาล์วลูกสูบ รวมถึงการทำงานต่างๆ จะรวมอยู่ในกระบอกเดียว แต่ส่วนที่เป็นห้องน้ำมันและแก๊ส จะแยกจากกันโดยลูกสูบ สำหรับห้องบรรจุน้ำมันจะอยู่ด้านบน ส่วนบรรจุแก๊สอยู่ด้านล่าง ทันทีที่โช้กอัปเกิดการยุบตัว ลูกสูบจะทำการดันน้ำมันลงมา ทำให้เกิดเป็นแรงดันจากตัวห้องแก๊สบริเวณด้านล่าง ทันทีที่แรงดันมากยิ่งขึ้น แรงดันจะดันลูกสูบให้กลับมาอยู่ที่ตำแหน่งเดิม สำหรับสร้างแรงหนืดให้รถยนต์

  • จุดเด่นของโช้กอัปกระบอกเดี่ยว ได้แก่

    • สร้างแรงหนืดได้เสถียร 

    • ระบายความร้อนจากภายในตัวโช้กได้ดี

    • เหมาะกับรถยนต์ที่ต้องการใช้สมรรถนะการขับขี่ หรือต้องการใช้ความเร็ว 

  • โช้กอัปกระบอกคู่ เป็นโช้กอัปที่ประกอบไปด้วยกระบอก 2 ชั้นซ้อนกัน ด้านในจะเป็นตัวลูกสูบมีน้ำมันบรรจุภายใน กระบอกด้านนอกบรรจุด้วยแก๊สไนโตรเจน สำหรับลูกสูบจะทำหน้าที่เคลื่อนที่ขึ้น-ลงด้านในกระบอกสูบ ทันทีที่โช้กอัปเคลื่อนที่ขึ้นลงตามการเคลื่อนไหวล้อลูกสูบ และทำหน้าที่ดันน้ำมันโช้กขึ้นลงไหลผ่านเบสวาล์ว ส่งผลให้เกิดเป็นความหนืดช่วยลดแรงสั่นสะเทือน

  • จุดเด่นของโช้กอัปกระบอกคู่ ได้แก่

    • มีแรงดันแก๊สต่ำ ช่วยให้การขับขี่ได้อย่างนุ่มนวล

    • มีราคาไม่แพง

    • เหมาะกับรถยนต์ทั่วไป

โช้กอัปที่แบ่งตามคุณสมบัติ

นอกจากการแบ่งประเภทโช้กอัปตามโครงสร้างกระบอกแล้ว ยังมีการแบ่งประเภทของโช้กอัปตามคุณสมบัติการใช้งานอีกด้วย โดยจะมีทั้งโช้กอัปน้ำมันและโช้กอัปแก๊ส ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้ 

  • โช้กอัปน้ำมัน จะทำงานด้วยการใช้น้ำมันไฮดรอลิกเพื่อให้เกิดความหนืด โดยน้ำมันไฮดรอลิก จะทำหน้าที่ไหลผ่านวาล์วภายในลูกสูบ จนเกิดเป็นฟองอากาศขึ้นมา ทั้งนี้การเกิดฟองอากาศน้ำมันจะส่งผลให้โช้กอัปไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ 


นั่นจึงเป็นเหตุผลที่โช้กอัปประเภทนี้ไม่เหมาะกับการขับขี่ที่ต้องเผชิญแรงสั่นสะเทือนเป็นเวลานาน 

  • โช้กอัปแก๊ส จะเป็นการทำงานที่ร่วมกันระหว่าง แก๊สไนโตรเจนและน้ำมันไฮดรอลิก ทันทีที่โช้กเกิดการกระแทกจากการใช้งาน ลูกสูบจะทำการเลื่อนลงมาด้านล่างของกระบอกสูบ ทำให้น้ำมันไฮดรอลิกไหลขึ้นผ่านวาล์วไปยังห้องน้ำมันด้านบน 

จากนั้นน้ำมันบางส่วนจะไหลผ่านวาล์วด้านล่างไปที่ห้องน้ำมันสำรอง ส่วนโช้กจะทำหน้าที่อัดแก๊สไนโตรเจนเพื่อให้เกิดแรงดันน้ำมันไฮดรอลิก เพื่อให้รถยนต์สามารถขับขี่บนเส้นทางขรุขระได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังรองรับต่อการบรรทุกของที่มีน้ำหนักเยอะได้ 

อยากเปลี่ยนโช้กรถยนต์ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

หากคนใช้รถคนไหนที่กำลังสับสน ไม่แน่ใจว่าควรจะเลือกเปลี่ยนโช้กรถยนต์อย่างไร ให้เหมาะกับการขับขี่ของตนเอง โดยวิธีเลือกพิจารณาเปลี่ยนโช้กอัปที่เหมาะสม สามารถทำได้ ดังนี้

  • เลือกให้เหมาะกับการใช้งาน เนื่องจากโช้กอัปแต่ละประเภทมีรูปแบบการทำงานที่ต่างกัน ทั้งการให้ความนุ่มนวลและการยึดเกาะถนน โดยผู้ใช้รถควรพิจารณาว่าตนเองนั้นมีรูปแบบการขับขี่อย่างไร เช่น ถ้าเป็นคนขับรถที่เน้นใช้งานแบบทั่วไป ไม่ได้เน้นลุยหนัก อาจเลือกเป็นโช้กอัปประเภทน้ำมัน ส่วนใครที่ชอบขับรถที่มีความสมบุกสมบัน ก็อาจเลือกโช้กอัปแก๊ส ที่เน้นสมรรถนะมากกว่า 

  • ระยะยืด-ยุบของโช้ก หากกรณีที่เลือกเป็นโช้กอัปที่มีขนาดการใช้งานเท่ากับโช้กอัปที่ติดมากับรถ จะสามารถใช้ทดแทนกันได้แบบที่ไม่ต้องปรับแต่งเพิ่มเติม ส่วนกรณีที่รถของคุณเป็นแบบปรับความสูงต่ำ ควรเลือกโช้กอัปแบบสตรัตปรับเกลียว ที่มีคุณสมบัติสามารถปรับแต่งความสูงได้

  • เลือกโช้กอัปที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพราะโช้กอัปที่อะไหล่รถยนต์ ทำหน้าที่สร้างความปลอดภัย และเพิ่มความราบรื่นในการขับขี่ ดังนั้นควรเลือกเปลี่ยนโช้กรถยนต์ที่มีคุณภาพดี มีความทนทาน และได้มาตรฐานการผลิตและออกแบบ 

อายุการใช้งานของโช้กรถยนต์

สำหรับอายุการใช้งานของโช้กอัปรถยนต์ โดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ทุก 50,000 - 100,000 กิโลเมตร หรือหากนับระยะเวลาเป็นประมาณ 3 ปี นอกจากนี้เมื่อใช้งานรถครบทุก 20,000 กิโลเมตร เจ้าของรถยนต์ควรทำการเช็กโช้กอัปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโช้กอัปเสื่อมก่อนกำหนด ทั้งนี้อายุการใช้งานโช้กอัปขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของเจ้าของรถ 

ปัจจัยอะไรบ้าง ที่มีผลต่ออายุการใช้งานโช้กรถยนต์

สำหรับปัจจัยที่ทำให้โช้กอัปรถยนต์ เกิดการเสื่อมอายุเร็วขึ้นกว่าเดิม มักเกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ใส่ใจรถยนต์​ โดยจะมีพฤติกรรมเสี่ยง ดังนี้ 

  • ใช้รถขับขี่บนถนนที่มีพื้นที่ขรุขระ เป็นหลุมบ่อ หรือถนนที่มีพื้นที่ไม่ราบเรียบเป็นประจำ

  • ชอบขับขี่รถด้วยความเร็วสูง หรือขับรถบนเส้นทางโค้งเยอะและต่อเนื่องบ่อยๆ

  • ใช้รถบรรทุกของที่มีน้ำหนักจนเกินไป

  • ติดตั้งโช้กอัปไม่ดีตั้งแต่แรก อาจเกิดจากช่างผู้ติดตั้งไม่มีความชำนาญ

  • เส้นทางที่ใช้ขับขี่ไม่ใช่ทางถนนที่ปกติ เช่น ทางลูกรัง เส้นทางขึ้นเขา หรือถนนที่ซ่อมแซมอยู่ เป็นต้น

แชร์เทคนิคดูแลโช๊คให้ใช้งานได้นาน

คนใช้รถคนไหนที่อยากให้โช้กใช้งานได้นานๆ ไม่อยากเปลี่ยนโช้กรถยนต์บ่อยๆ หรือไม่อยากเสียค่าแรง เปลี่ยนโช้กรถยนต์ สามารถดูแลโช้กง่ายๆ ดังนี้

  • ตรวจโช้กอัปรถยนต์เป็นประจำ โดยหลังจากที่ใช้งานรถทุกๆ 10,000 กิโลเมตร เจ้าของรถควรเช็กสภาพความพร้อมอยู่เป็นประจำ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าโช้กอยู่ในสภาพที่ดี หากพบการชำรุด บกพร่องเสียหาย ควรเปลี่ยนโดยทันที

  • ทำความสะอาดโช้กอัปเป็นประจำ หากใช้งานโช้กอัปไปนานๆ อาจทำให้เกิดการหมักหมมสิ่งสกปรกต่างๆ เช่น ฝุ่น หิน ดิน จนอาจส่งผลเสียให้โช้กชำรุดไวขึ้น ดังนั้นเจ้าของรถควรหมั่นใช้วิธีการถอดโช้กรถยนต์ เพื่อฉีดน้ำทำความสะอาด

  • เปลี่ยนโช้กตามระยะเวลาที่กำหนด สำหรับอายุการใช้งานโช้กอัปรถยนต์นั้น จะอยู่ที่ประมาณ 50,000 - 100,000 กิโลเมตร หรือทุกๆ 3 ปี ซึ่งเจ้าของรถควรเปลี่ยนโช้กทันทีเมื่อครบกำหนดดังกล่าว เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

  • หลีกเลี่ยงการวิ่งบนเส้นทางที่ขรุขระ เพราะการวิ่งบนทางที่ขรุขระ มีทางไม่เรียบเป็นประจำ จะยิ่งทำให้โช้กอัปรถยนต์ทำงานหนักมากยิ่งขึ้น เพราะต้องรับแรงกระแทกต่างๆ มากกว่าเดิม และทำให้โช้กอัปมีโอกาสเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าเดิม

  • เปลี่ยนโช้กอัปเป็นคู่ เพราะหากเปลี่ยนโช้กอัปรถยนต์แบบคู่พร้อมกัน จะช่วยทำให้การทำงานของโช้กเกิดความสมดุล สามารถทำการคู่กันได้อย่างราบรื่น เพราะหากเปลี่ยนข้างใดข้างหนึ่งอาจทำให้การเสื่อมสภาพไม่เท่ากัน จนเกิดการเสื่อมสภาพเร็วกว่าเดิม

  • ไม่บรรทุกของหนักระหว่างขับขี่ เนื่องจากการบรรทุกของที่มีน้ำหนักมากเกินไปจะยิ่งทำให้โช้กทำงานหนัก ส่งผลต่ออายุการใช้งานที่สั้นลง ทำให้ยากต่อการควบคุมรถ เกิดความไม่สมดุล ร้ายแรงอาจทำให้รถเกิดการเสียหลักจนพลิกคว่ำได้

  • เลือกโช้กอัปที่มีมาตรฐานคุณภาพ เนื่องจากโช้กอัปเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนสำคัญต่อการขับขี่ ดังนั้นจึงควรเลือกโช้กอัปที่มีคุณภาพ เหมาะสมต่อการใช้งาน มีการเลือกใช้วัสดุที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองจากศูนย์บริการรถยนต์มืออาชีพ

สัญญาณเตือนว่าคุณต้องเปลี่ยนโช้ก มีอะไรบ้าง

ส่วนเจ้าของรถที่พบว่าโช้กอัปมีอาการทำงานผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรดำเนินการเปลี่ยนโช้กรถยนต์โดยทันที 

  • ระหว่างขับขี่ได้ยินเสียงกึกกักดังที่บริเวณโช้กอัป

  • รู้สึกถึงอาการโคลงเคลงระหว่างขับขี่

  • บริเวณโช้กอัปเกิดคราบน้ำมัน อาจเป็นสัญญาณบอกว่าโช้กอัปกำลังชำรุดจนน้ำมันไฮดรอลิกรั่วซึม

  • จังหวะที่ทำการเหยียบเบรกหรือชะลอความเร็วรถ ใช้ระยะเวลาเบรกที่นานขึ้น

  • ระหว่างเข้าทางโค้งหรือขับผ่านบริเวณที่เป็นน้ำขัง รถไม่สามารถยึดเกาะถนนได้ดีเหมือนเดิม 

วิธีตรวจเช็กโช้กรถยนต์เบื้องต้นด้วยตนเองง่ายๆ

คนใช้รถคนไหนที่ต้องการตรวจสอบโช้กอัป ว่ามีการบกพร่องเสียหายหรือไม่ สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน ดังนี้

  • ผู้ขับใช้มือกดไปที่บริเวณฝากระโปรงรถแล้วปล่อยมือ เพื่อทดสอบแรงดีดตัวของโช้กอัป

  • เช็กสภาพภายนอกของโช้กอัป ว่ามีลักษณะรูปทรงที่เปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ 

  • หากตรวจเช็กแล้วพบว่ามีน้ำมันรั่วซึมบริเวณดังกล่าว แสดงว่าโช้กมีอาการรั่ว

  • ระหว่างขับรถให้สังเกตว่ารถมีอาการเชิดขึ้นในจังหวะที่ออกตัวหรือไม่ หรือรถมีอาการโคลงเคลงในจังหวะที่เบรก นั่นเป็นสัญญาณว่าโช้กกำลังมีปัญหา

สรุป

โช้กอัปรถยนต์นั้นเป็นส่วนสำคัญของรถยนต์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการใช้งานของโช้กอัปก็คือตั้งแต่ 50,000 - 100,000 กิโลเมตร หรือทุกๆ 3 ปีนั่นเอง แต่ทั้งนี้ผู้ขับขี่ควรหมั่นตรวจเช็กสภาพความพร้อมของโช้กเป็นประจำทุกๆ 10,000 กิโลเมตร

และหากเกิดอาการผิดปกติของโช้ก เช่น รู้สึกถึงอาการโคลงเคลง หรือเกิดเสียงแปลกๆ ขณะขับขี่ ควรรีบเปลี่ยนโช้กรถยนต์ทันทีเพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัย และควรเลือกโช้กที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เหมือนชิ้นส่วนรถยนต์ที่ Autobacs ที่รวมอะไหล่รถยนต์ที่มีคุณภาพ เพื่อตอบโจทย์สำหรับคนรักรถเป็นอย่างยิ่ง 

autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autobacsสาระน่ารู้อื่นๆ

E-mail

Call Center

autobacs-contact

LINE Official

autobacs-line

Messenger

autobacs-messenger
to-top